ประวัติ วัดยาง พระอารามหลวง


วัดยาง พระอารามหลวง  ตั้งอยู่ถนนสุขุมวิท  ๗๗  ซอยอ่อนนุช ๒๓  แขวงสวนหลวง  เขตสวนหลวง  กรุงเทพมหานคร  ประกอบด้วยหลักเกณฑ์การขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวงตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง   พ.ศ. ๒๕๑๘  คือ
               



         ๑.  มีที่ดินสร้างวัดเนื้อที่จำนวน  ๒๔  ไร่    งาน  ๓๑  ตารางวา 
ที่ธรณีสงฆ์    แปลง  เนื้อที่    ไร่    งาน  ๒๘  ตารางวา  ตั้งวัดก่อน พ.ศ. ๒๓๘๔  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อประมาณ  พ.ศ.  ๒๔๐๐ 

                  วัดยาง เดิมชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า  วัดยาง (หลวงพ่อโต)  ตั้งอยู่เลขที่ ๑๕ หมู่ที่ ๙  เลขที่ ๑๑๙๗   ถนนสุขุมวิท ๗๗  ซอยอ่อนนุช ๒๓  แขวงสวนหลวง  เขตสวนหลวง  กรุงเทพมหานคร  รหัสไปรษณีย์  ๑๐๒๕๐  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  มีที่ดินที่ตั้งวัด  เดิมมี ๑๙ ไร่ ๑ งาน ๔๒ ตารางวา  โฉนดเลขที่ ๙๓๑๘   เลข  ๑๗๖๐๒๑   พ.ศ. ๒๕๓๙  พระครูโสภณพัฒนาภรณ์ และญาติโยม  ได้ซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นอีก ๒ ไร่ ๓ งาน ๔๘ ตารางวา  โฉนดเลขที่ ๓๓๕๐- ๙๑๔๐ ๑๖๕๗๔๙ ๑๖๕๗๕๐ - ๑๖๕๗๕๑
                   วัดยางเป็นวัดที่สร้างมานานแต่ยังไม่สามารถที่จะสืบค้น  เรื่องราวความเป็นมาได้  และก็รวมไปถึงประวัติของพระพุทธรูปสำคัญ  คือ  หลวงพ่อโต  ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์  มีผู้เคารพนับถือกันไม่น้อย  จากรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของข้อมูลเท่าที่พอจะหาได้จากคำบอกเล่าของท่าน ผู้เฒ่า  อายุเกินกว่า ๙๐ ปี (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)  ว่าบิดาของท่านเคยบอกให้ฟังว่า  เกิดมาก็เห็นหลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ที่วัดแล้ว  และสภาพดั้งเดิมของวัดได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา  จนกระทั่งไปไม่เหลือเค้าอยู่  จึงทำได้แต่สันนิษฐานจากคำบอกเล่า  และการเทียบเคียงกับวัดในละแวกใกล้ๆ กัน  ที่เป็นวัดเก่าและคิดว่ามีอายุไล่เลี่ยกัน  ในชั้นต้นนี้พอจะอนุมานไว้ก่อนว่า  เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์  มีอายุราว ๒๐๐ ปีขึ้นไป
                                    วัดยางตั้งอยู่ริมคลองพระโขนง  เมื่อเดินทางด้วยเรือจากพระโขนงไปประเวศ  วัดจะอยู่ทางขวามือ  คำว่า วัดยาง ตามประวัติเล่าว่า  เป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาแต่เดิม  อยู่มาเมื่อองค์หลวงพ่อโต  ซึ่งเป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลักปางมารวิชัย  ได้ลอยน้ำมาหยุด  หรือมายั้ง  ยังบริเวณท่าน้ำหน้าวัด  ชาวบ้านซึ่งอยู่บริเวณรอบๆ วัดในครั้งนั้น  ซึ่งเป็นคนลาวที่อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นจำนวนมาก  จึงได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นไว้บูชาสักการะที่วัด  จึงได้เรียกว่าวัดยั้ง กาลต่อมาคนลาวน้อยลง  คนไทยมาอยู่อาศัยมากขึ้น  คำว่า  วัดยั้ง  เลยเพี้ยนเป็น วัดยาง  มาจนถึงปัจจุบันนี้  ส่วนคลองที่คนลาวมาอยู่อาศัยยังคงมีชื่อว่าคลอง  บ้านหลาย (บ้านมาก)  ซึ่งหากจากวัดยางไปประมาณ ๖๐๐ เมตร
                   






ลำดับเจ้าอาวาส
*****
                                รูปที่     พระอธิการปาน
                                                รูปที่     พระอธิการนิล
                                                รูปที     พระอธิการนุ่ม
                                                รูปที่     พระอธิการนก
                                                รูปที่     พระอธิการสมบุญ   พ.ศ.  ๒๔๘๐  -   ๒๕๐๐
                                                รูปที่     พระราชพัฒโนดม พ.ศ. ๒๕๐๐ ปัจจุบัน

 

                                    อุโบสถ เดิมสร้างเมื่อ พ.ศ.  ๒๓๙๔  ลักษณะเป็นเรือนไม้  เก๋งจีน ก่ออิฐถือปูน           ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณปี  ๒๔๐๐  ต่อมาในปี  พ.ศ.  ๒๔๙๖  พระอาจารย์บุญช่วย (พระราชพัฒโนดม  เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน)  ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้สร้างอุโบสถหลังใหม่ขนาด  กว้าง    เมตร  ยาว  ๑๘  เมตร  เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก  หลังคา    รดน้ำ  มุงด้วยกระเบื้องเผาเคลือบสี  สร้างเสร็จ  พ.ศ.  ๒๕๐๐   
                                    ปัจจุบัน ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาร่วมทำกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาเป็นจำนวนมาก  ดังนั้น  ใน  พ.ศ.  ๒๕๓๖  จึงได้บูรณปฏิสังขรณ์  ขยายเพิ่มเติมเป็นขนาด  กว้าง    เมตร  ยาว  ๒๕  เมตร  ลักษณะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก  ก่ออิฐถือปูน  หลังคา    รดน้ำ  มุงด้วยกระเบื้องดินเผาเคลือบมัน  และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่  ๒๙ พฤศจิกายน   พ.ศ.  ๒๕๓๗ 
                     
                                    วิหาร    เดิมสร้างเมื่อ พ.ศ.  ๒๓๙๔  ลักษณะเป็นเรือนไม้  เก๋งจีน โดยประมาณ  ต่อมาในปี  พ.ศ.  ๒๔๙๖  พระอาจารย์บุญช่วย (พระราชพัฒโนดม  เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน)  ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้สร้างอุโบสถหลังใหม่ขนาด  กว้าง    เมตร  ยาว  ๑๘  เมตร  เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก  หลังคา    รดน้ำ  มุงด้วยกระเบื้องเผาเคลือบสี  สร้างเสร็จ  พ.ศ.  ๒๕๐๐    สร้างเมื่อ   พ.ศ.  ๒๕๓๖        สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาทรงไทยใบเทศ   ตรีมุข   (สามมุข)   มีช่อฟ้าใบระกา   กว้าง   ๒๐   เมตรยาว   ๒๗.๒๐  เมตร  มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ 
                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น